2-3 วันที่ผ่านมามีคนไข้ส่งข้อมูลเข้ามาสอบถามหมอเกี่ยวกับงานวิจัย เรื่องโบท็อกซ์ (พร้อมกับแนบลิงค์งานวิจัย มาให้หมอด้วย >> https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17116793/ )
บอกเลยว่าเห็นข้อความครั้งแรก หมอแอบตกใจเล็กน้อย เพราะปกติงานวิจัยหรืองานตีพิมพ์ต่างๆเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลเชิงลึกถึงลึกมาก และหมอทั่วโลกทุกคนจะใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ รวมถึงอาจพิจารณาปรับใช้อ้างอิงในการรักษาคนไข้ในอนาคตอีกด้วย แต่พอคนไข้ส่งมาสอบถามหลายๆคน หมอจึงได้สอบถามกลับไปจึงทราบว่า มีเพจทางการแพทย์ เพจนึงหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดถึงก็เลยทำให้เป็นที่สนใจขึ้นมาพอดี
หมอขอรวบรวมประเด็นสรุปสาระสำคัญจากรายงานการตีพิมพ์ฉบับนี้ ( Case Reports ) ไว้ดังนี้นะคะ
1. งานวิจัยนี้ เป็นการเปรียบเทียบ เคสฝาแฝด 2 คน โดยที่
คนแรก(ภาพขวา) : ได้รับการฉีดโบท็อกซ์ต่อเนื่องสม่ำเสมอ มาประมาณ 13 ปี ☀️
คนสอง(ภาพซ้าย) : ได้รับการฉีดโบท็อกซ์เพียง 2 ครั้ง ภายในช่วง 13 ปี
2. มีการเปรียบเทียบริ้วรอยบริเวณใบหน้า พบว่าฝาแฝด “คนสอง” (ที่ได้ฉีดโบท็อกซ์แค่ 2 ครั้ง)
มีริ้วรอยแบบ imprinted facial lines หรือที่เราเรียกว่า #ร่องถาวร (ริ้วรอยที่เกิดขึ้นแม้ไม่ได้แสดงสีหน้า) มากกว่าฝาแฝด “คนแรก” ที่ได้รับการดูแลด้วยโบท็อกซ์อย่างสม่ำเสมอ
3. งานวิจัยนี้มีจุดเด่นคือ เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ฝาแฝด จึงถือว่าได้เก็บข้อมูลจากเคสที่มีลักษณะทางพันธุกรรมทางผิวใกล้เคียงกันมาก และมีช่วงระยะเวลาการรักษาที่แตกต่างกันอย่างยาวนาน จึงทำให้ได้รับความสนใจขึ้นมาพอดี
เนื่องจากงานวิจัยที่หมอพูดไปข้างต้น ได้รับการตีพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี 2006 แต่ปัจจุบันเวลาผ่านมาอีก 14 ปี องค์ความรู้นี้ในปัจจุบันเราได้ข้อสรุปกันอย่างชัดเจนแล้วว่า #การฉีดโบท็อกซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยรักษาริ้วรอย รวมถึงลดโอกาสการเกิดริ้วรอยถาวรในอนาคตได้อีกด้วย
ดังนั้นใครที่เคยคิดหรือกังวลว่าถ้าฉีดโบท็อกซ์มานานๆแล้วหยุดฉีด จะทำให้หน้าเหี่ยวกว่าเดิม หมอบอกได้เลยว่าจะไม่เกิดผลข้างเคียงแบบนั้นแน่นอนค่ะ มีแต่ยิ่งดูแลรักษา ยิ่งใส่ใจ จะช่วยให้ผิวเรามีสุขภาพที่ดีอยู่กับเราไปได้นานๆค่ะ 👩🏻⚕️👨🏻⚕️
コメント